top of page
88cce1cba0342ef1e961fa7caf8e3244.jpg

จากการถูกเผา

ผลกระทบที่เกิดจาก

ผลกระทบที่เกิดจากการถูกเผา

 1. ผลกระทบทางระบบนิเวศ การเผาอ้อยนั้นถือว่าส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะการเผาอ้อยก่อให้เกิดปัญหาสภาวะโลกร้อนเนื่องจากผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กระจายอยู่บนชั้นบรรยากาศ พร้อมทั้งทำให้ทั่วพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงถูกปกคลุมไปด้วยเขม่าควัน ส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เช่น พืชล้มตาย ระบบนิเวศถูกทำลาย รวมไปถึงสุขภาพของคนในพื้นที่เอง

dust2.jpg

เศษขี้เถ้าจากการเผาอ้อย //ขอบคุณภาพจาก: Bernetty Aek และ https://hilight.kapook.com/view/183434

 2. ผลกระทบทางอากาศ มลพิษจากการเผาไหม้ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ อันมีอนุภาคเล็ก ทว่าเมื่อกระจายตัวในอากาศ กลับสามารถส่งผลเสียได้ในปริมาณมาก เช่น ส่งผลต่อสุขภาพทางเดินอากาศในคน ทำให้ความสามารถในการขับถ่ายออกซิเจนในเลือดลดลง รวมไปถึงส่งผลต่อพืขด้วย ทั้งยังสร้างความรำคาญแก่คนในชุมชน

ภาพแสดงผลกระทบที่เกิดจากการได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ มีตั้งแต่อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ สับสน อาเจียน หายใจลำบาก หน้ามืด หมดสติ และเสียชีวิต
ที่มา www.rvworldstore.co.nz/guides-advice/carbon-monoxide-poisoning-avoidance-and-protection/

 3. ผลกระทบทางดิน  การเผาอ้อยยังทําให้ความสมบูรณ์ของดินและโครงสร้างของดินไม่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของอ้อยทําให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีเศษซากอ้อยต่างๆ คลุมดิน เกิดวัชพืชขึ้นง่าย ส่งผลต่อต้นทุนการกําจัดวัชพืช อีกทั้งการเผาจะทําให้ตออ้อยถูกทําลาย อ้อยงอกช้ากว่าปกติหรืออาจไม่งอก การเจริญเติบโตช้า ไว้ตอไม่ดี

ภาพแสดงองค์ประกอบของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ซึ่งหากมีการเผาอ้อย จะทำให้ความสมบูรณ์และโครงสร้างของดินเสียไป ไม่สามารถเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลผลิตที่ดี  ที่มาภาพ : คู่มือการจัดการไร่อ้อยอย่างยั่งยืน โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

 4. ผลกระทบทางดำนสุขภาพ ระหว่างการเผาไหม้สารประกอบซิลิกา (Silica Fiber) ในอ้อย (ซึ่งมีลักษณะคล้าย Asbestos Fiber) จะถูกปล่อยออก  จากลําต้นอ้อย Silica Fiber นี้จะเป็นสาเหตุให้เป็นมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจากประชากรในประเทศบลาซิล พบว่ามีประชากรในเขตการปลูกอ้อยเป็น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยที่ระดับของการป่วยจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและปัจจัยสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น ๆ นอกจากนี้พบว่าเถ้าที่เกิดจากการเผาอ้อยจะเป็นอันตรายต่อสายตาของประชากรที่อาศัยในบริเวณไร่อ้อยด้วย 

     กลไกการเกิดผลกระทบจากสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็กขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง โดยพบว่าหากมีขนาดเล็กก็ยิ่งสามารถเดินทางเข้าสู่ทางเดินหายใจในระดับลึกลงไปได้เรื่อย ๆ จากจมูก ปอด หลอดลม ถุงลม จนกระทั่งอาจเข้าสู่กระแสเลือดได้

ภาพแสดงตำแหน่งตกตะกอนของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่าง ๆ

(ที่มา : https://www.acrd.bc.ca/particulate-matter)

 5. ผลกระทบด้านคุณภาพอ้อย การเผาอ้อยก่อนตัดทําให้สูญเสียนํ้าหนักและคุณภาพความหวาน ซึ่งหากตัดทิ้งไว้ในไร่นาน ๆ คุณภาพความหวานจะยิ่งลดลง นอกจากนี้ยังถูกตัดราคาตามประกาศของโรงงานและคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย รวมทั้งมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนมาก เพราะอ้อยเผาจะมีนํ้าตาลเยิ้ม ออกมาที่ลําอ้อย หากตัดวางสัมผัสกับพื้นดินก็จะมีเศษหิน ดิน ทรายปนเข้ามา ทําให้ผลผลิตนํ้าตาล ลดลงอย่างมาก อีกทั้งยังสร้างความเสียหายแก่เครื่องจักรในขบวนการผลิตนํ้าตาล

     การสูญเสียน้ำตาลในลำต้นอ้อย ซึ่งความร้อนในระหว่างการเผาอ้อย คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาทุกชนิดที่อยู่ในลำอ้อย รวมทั้งการแตกตัวของน้ำตาลซูโครส ดังรูป ซึ่งหากอ้อยมีบาดแผลมาก ก็จะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น และถ้าทิ้งเวลาไว้นานการแตกตัวของน้ำตาลซูโครสก็มีมากขึ้น

ที่มาของภาพและข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

bottom of page